วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2552 มีการจัดงาน“อินก้อน ฟ้อนแคน” งานอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทยทรงดำ ครั้งที่ 15 ณ.โรงเรียนเตรีมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง ตำบลดอนคลัง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัด ราชบุรีโดยนายสุเทพ โกมลภมร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เปิดงาน นายวันชัย ธีระสัตยกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี และประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี นอกจากนั้นก็มี รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี ประธานมูลนิธิไทยทรงดำประเทศไทย คุณมาลัย มินศรี ผู้ประสานงานสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคตะวันตก และแขกผู้มีเกียรติอีกหลายท่านเข้าร่วมงาน และไทยทรงดำจากหลายพื้นที่ หลายจังหวัด เข้าร่วมงานอีกประมาณ 5,000 คน โดยมีผู้ใหญ่ณรงค์ เป็นแม่งานใหญ่ในงานมีหมายกำหนดการดังต่อไปนี้
15.00 น. ชาวไทยทรงดำจากหมู่บ้านอื่นทยอยกันมาในบริเวณงานและร่วมรับประทานอาหาร
20.00 น. พิธีเปิดงาน โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีเป็นประธาน
เมือจบพิธีเปิดจะเป็นการร่วมกันฟ้อนของไทยทรงดำมีด้วยกันทั้งหมด 6 วงแคนนอกจากนี้แล้วยังมีซุ้มนิทรรศการแสดงข้าวของเครื่องใช้ทั้งในปัจจุบันและในอดีตที่เลิกใช้กันไปแล้ว เครื่องแต่กายของชาวไทยทรงดำ เอกสารคำอธิบายการประกอบพิธีกรรมของชาวไทยทรงดำ เป็นที่สนใจจนทำให้ นายโอกาดะ เป็นชาวญี่ปุ่นซึ่งกำลังศึกษาปริญญาเอกในเรื่องของชนเผ่าต่างๆ มีความสนใจศึกษารวบรวมข้อมูลไทยทรงดำตามสถานที่ต่างๆ จนพบไทยทรงดำที่เตียงเบียงฟูลประเทศเวียดนามและพบว่าที่ประเทศไทยมีชาวไทยทรงดำด้วยจึงได้เข้ามาศึกษาวิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำที่ดอนคลังและอยู่เมืองไทยเป็นเวลา 2 ปีแล้วเมือตำบลดอนแร่มีการจัดงาน อินก้อน ฟ้อนแคน ขึ้นจึงได้มาร่วมงานและสัมภาษณ์ประธานมูลนิธิไทยทรงดำโดยตรง กิจกรรมในบี้นี้ซึ่งไทยทรงดำบ้านดอนคลังเป็นพื้นที่นำร่อง 1 ใน 5 ภาคตะวันตก จัดงานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยทรงดำ ไร้แอลกอฮอล์ ที่ที่แตกต่างจากปีที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิงคือการปรับเปลี่ยนการต้อนรับผู้เข้าร่วมงานจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาเป็นน้ำดื่มสมุนไพร ซึ่งน้ำดื่มสมุนไพร (น้ำมะขาม น้ำมะตูมน้ำใบบัวบก และน้ำฝาง) นำโดยคุณอุบลวรรณ คงสว่าง ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดราชบุรีและทีมงาน

งานอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทยทรงดำ

” งานอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทยทรงดำ ครั้งที่ 15 ณ.โรงเรียนเตรีมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง จังหวัด ร

6 พฤษภาคม 2552

“อินก้อน ฟ้อนแคน” งานอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทยทรงดำ ครั้งที่ 15 ณ.โรงเรียนเตรีมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง จังหวัด ราชบุรี

ไทยทรงดำ

ไทยทรงดำของตำบลดอนคลัง
ไปที่...
http://thaidumdon.blogspot.com/

ประวัติไทยทรงดำที่ดอนคลัง

ประวัติไทยทรงดำที่ดอนคลัง
สมัยรัชกาลที่ 3 ราวปี พ.ศ.2400 ชาวไทยทรงดำเมืองเพชรบุรีกลุ่มหนึ่ง นำโดยเพียหุนและพรรคพวกต้องการที่จะกลับบ้านเกิดจึงอพยพขึ้นทางเหนือแต่เนื่องจากเข้าฤดูฝนจึงต้องแวะพัก แต่เนื่องจากพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์จึงตั้งบ้านเรือนปักหลักที่บ้านดอนคลัง บางพวกก็ไปตั้งบ้านเรือนแถวบ้านดอนข่อย บ้านตาลเรียง บ้านบัวงาม หรืออาจเลยขึ้นไปถึงจังหวัดนครปฐมและจังหวัดอื่นๆ ถิ่นที่ตั้งบ้านเรือนในตำบลดอนคลัง ได้แก่ บ้านโคกตับเป็ด บ้านโคกกลาง และบ้านดอนคลัง หรือบ้านหมู่ที่ 1-4 ประชาชนในตำบลดอนคลังประมาณร้อยละ 80 เป็นผู้ที่มีเชื้อสายไทยทรงดำ ต่อมาเพียหุนได้รับเลือกตั้งเป็นกำนันคนแรกของตำบลดอนคลัง เพียหุนเป็นต้นตระกูล "ทุยหุน" ซึ่งเป็นนามสกุลที่ยังมีอยู่ในตำบลดอนคลังและตำบลใกล้เคียงและนอกจากนี้แล้วยังมีนามสกุลอื่นๆเช่น สอนเรียน หวังปัด ปีบัว(ปี่บัว)

ความเป็นอยู่ของชาวไทยทรงดำที่ดอนคลัง
แต่เดิมชาวไทยทรงดำที่บ้านดอนคลังไม่ได้นับถือศาสนาแต่ปัจจุบันนับถือศาสนาพุทธและมีวัดที่สำคัญได้แก่วัดโคกตับเป็ด(หมู่1) วัดดอนคลัง(หมู่4)ซึ่งจะตั้งในลักษณะต้นตำบลกับท้ายตำบล ชาวไทยทรงดำที่นี้ยังอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีของตนไว้อาทิ ชาวไทยทรงดำที่นี้ยังใช้ภาษาท้องถิ่น(ภาษาลาวโซ่ง)สื่อสารกันอยู่ ยังมีพิธีกรรมเสนเรือน(พิธีเซ่นไหว้ผีเรือน) การประกอบพิธีเอ็ดแฮว(การทำสิ่งของให้ผู้ตาย) ถึงแม้ปัจจุบันการปลูกบ้านเรือนจะคล้ายคนไทยแต่ยังคงอนุรักษ์บ้านเรือนแบบไทยทรงดำอยู่ ประชากรของตำบลดอนคลังมีประมาณ 5,000 คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เลี้ยงกุ้ง ทำนา สวนผัก สวนผลไม้ รับจ้างทั่วไป เป็นชาวไทยทรงดำประมาณร้อยละ 60ที่เหลือจะเป็นชาวไทยต่างถิ่นกับคนจีนซึ่งสามารถอยู่ด้วยกันได้ไม่มีการแบ่งแยกเชื่อพันธุ์ ทุกคนเข้าใจในวัฒนธรรมของอีกฝ่ายช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

วิกฤตทางพิธีกรรมของไทยทรงดำ
หมอเสนเรือนในขณะนั้นเหลือเพียงคนเดียวคือคุณตาบุญยัง มั่นแป้น ซึ่งเป็นหมอเสนเรือนแบบผู้น้อย(หมอเสนเรือนมี 2 ประเภทคือ ผู้น้อยเป็นพิธีของบุคคลทั่วไป กับผู้ท้าวเป็นพิธีของขุนนาง)และยังขาดผู้สืบทอด และนอกจากนั้นจ้าวพิธีไทยทรงดำดอนคลังพึ่งมาเสียชีวิตเมื่อ 3ปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นวิกฤตพิธีกรรมของไทยทรงดำดอนคลังแต่พิธีกรรมเอ็ดแฮว(การทำสิ่งของให้ผู้ตาย)ยังมีผู้สืบทอดอยู่ คือ ตาไฟ กับ ยายลำไย ซึ่งพิธีกรรมนี้จะแบ่งเป็น 2 ฝ่ายได้แก่ ฝ่ายชายจะทำพวกเครื่องไม้ และฝ่ายหญิงจะทำพวกเครื่องผ้า และใช้เวลาทำให้นานที่สุดเพื่อจะแต่เนื่องจากพิธีกรรมดังกล่าวมีข้อห้ามหลายประการอันเป็นอุปสรรในการสืบทอดเช่น การห้ามให้เยาวชนมาร่วมประกอบพิธี แต่จะมีการบรรจุวิชา เอ็ดแฮว ในหลักสูตรชั้น ม.6 โดยทำเพื่อการศึกษาเท่านั้น

ประวัติอินก้อน ฟ้อนแคน
เมื่อสมัยก่อนไม่มีการชุมชนในลักษณะที่เหมือนกับปัจจุบัน การทำนาเมื่อก่อนจะทำกันปีละ 3 ครั้งทำให้มีเวลาว่างในช่วงเดือน 4 และ 5 จึงมีการออกเยี่ยมเยียนกัน(อินก้อน)ตามหมู่บ้านไทยทรงดำในที่ต่างๆแต่เมือ 30 ปีที่แล้วได้เลิกไป และเมื่อ15ปีที่ผ่านมาจึงได้มีการริเริ่มให้มีงานในลักษณะนี้ขึ้นมาใหม่แต่ประยุกต์ให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและยุดสมัยของปัจจุบันโดยจัดรวมงานของหมู่บ้านในวันเดียวกัน เจ้าภาพจะจัดเตรียมอาหาร วงดนตรี และจะทะยอยกลับกันในช่วงมืดแล้วแต่ตามระยะทางใกล้ไกล

http://www.stopdrink.com/index.php?modules=news&type=5&id=1538