วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

งานอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทยทรงดำ

” งานอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทยทรงดำ ครั้งที่ 15 ณ.โรงเรียนเตรีมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง จังหวัด ร

6 พฤษภาคม 2552

“อินก้อน ฟ้อนแคน” งานอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทยทรงดำ ครั้งที่ 15 ณ.โรงเรียนเตรีมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง จังหวัด ราชบุรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประวัติไทยทรงดำที่ดอนคลัง

ประวัติไทยทรงดำที่ดอนคลัง
สมัยรัชกาลที่ 3 ราวปี พ.ศ.2400 ชาวไทยทรงดำเมืองเพชรบุรีกลุ่มหนึ่ง นำโดยเพียหุนและพรรคพวกต้องการที่จะกลับบ้านเกิดจึงอพยพขึ้นทางเหนือแต่เนื่องจากเข้าฤดูฝนจึงต้องแวะพัก แต่เนื่องจากพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์จึงตั้งบ้านเรือนปักหลักที่บ้านดอนคลัง บางพวกก็ไปตั้งบ้านเรือนแถวบ้านดอนข่อย บ้านตาลเรียง บ้านบัวงาม หรืออาจเลยขึ้นไปถึงจังหวัดนครปฐมและจังหวัดอื่นๆ ถิ่นที่ตั้งบ้านเรือนในตำบลดอนคลัง ได้แก่ บ้านโคกตับเป็ด บ้านโคกกลาง และบ้านดอนคลัง หรือบ้านหมู่ที่ 1-4 ประชาชนในตำบลดอนคลังประมาณร้อยละ 80 เป็นผู้ที่มีเชื้อสายไทยทรงดำ ต่อมาเพียหุนได้รับเลือกตั้งเป็นกำนันคนแรกของตำบลดอนคลัง เพียหุนเป็นต้นตระกูล "ทุยหุน" ซึ่งเป็นนามสกุลที่ยังมีอยู่ในตำบลดอนคลังและตำบลใกล้เคียงและนอกจากนี้แล้วยังมีนามสกุลอื่นๆเช่น สอนเรียน หวังปัด ปีบัว(ปี่บัว)

ความเป็นอยู่ของชาวไทยทรงดำที่ดอนคลัง
แต่เดิมชาวไทยทรงดำที่บ้านดอนคลังไม่ได้นับถือศาสนาแต่ปัจจุบันนับถือศาสนาพุทธและมีวัดที่สำคัญได้แก่วัดโคกตับเป็ด(หมู่1) วัดดอนคลัง(หมู่4)ซึ่งจะตั้งในลักษณะต้นตำบลกับท้ายตำบล ชาวไทยทรงดำที่นี้ยังอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีของตนไว้อาทิ ชาวไทยทรงดำที่นี้ยังใช้ภาษาท้องถิ่น(ภาษาลาวโซ่ง)สื่อสารกันอยู่ ยังมีพิธีกรรมเสนเรือน(พิธีเซ่นไหว้ผีเรือน) การประกอบพิธีเอ็ดแฮว(การทำสิ่งของให้ผู้ตาย) ถึงแม้ปัจจุบันการปลูกบ้านเรือนจะคล้ายคนไทยแต่ยังคงอนุรักษ์บ้านเรือนแบบไทยทรงดำอยู่ ประชากรของตำบลดอนคลังมีประมาณ 5,000 คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เลี้ยงกุ้ง ทำนา สวนผัก สวนผลไม้ รับจ้างทั่วไป เป็นชาวไทยทรงดำประมาณร้อยละ 60ที่เหลือจะเป็นชาวไทยต่างถิ่นกับคนจีนซึ่งสามารถอยู่ด้วยกันได้ไม่มีการแบ่งแยกเชื่อพันธุ์ ทุกคนเข้าใจในวัฒนธรรมของอีกฝ่ายช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

วิกฤตทางพิธีกรรมของไทยทรงดำ
หมอเสนเรือนในขณะนั้นเหลือเพียงคนเดียวคือคุณตาบุญยัง มั่นแป้น ซึ่งเป็นหมอเสนเรือนแบบผู้น้อย(หมอเสนเรือนมี 2 ประเภทคือ ผู้น้อยเป็นพิธีของบุคคลทั่วไป กับผู้ท้าวเป็นพิธีของขุนนาง)และยังขาดผู้สืบทอด และนอกจากนั้นจ้าวพิธีไทยทรงดำดอนคลังพึ่งมาเสียชีวิตเมื่อ 3ปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นวิกฤตพิธีกรรมของไทยทรงดำดอนคลังแต่พิธีกรรมเอ็ดแฮว(การทำสิ่งของให้ผู้ตาย)ยังมีผู้สืบทอดอยู่ คือ ตาไฟ กับ ยายลำไย ซึ่งพิธีกรรมนี้จะแบ่งเป็น 2 ฝ่ายได้แก่ ฝ่ายชายจะทำพวกเครื่องไม้ และฝ่ายหญิงจะทำพวกเครื่องผ้า และใช้เวลาทำให้นานที่สุดเพื่อจะแต่เนื่องจากพิธีกรรมดังกล่าวมีข้อห้ามหลายประการอันเป็นอุปสรรในการสืบทอดเช่น การห้ามให้เยาวชนมาร่วมประกอบพิธี แต่จะมีการบรรจุวิชา เอ็ดแฮว ในหลักสูตรชั้น ม.6 โดยทำเพื่อการศึกษาเท่านั้น

ประวัติอินก้อน ฟ้อนแคน
เมื่อสมัยก่อนไม่มีการชุมชนในลักษณะที่เหมือนกับปัจจุบัน การทำนาเมื่อก่อนจะทำกันปีละ 3 ครั้งทำให้มีเวลาว่างในช่วงเดือน 4 และ 5 จึงมีการออกเยี่ยมเยียนกัน(อินก้อน)ตามหมู่บ้านไทยทรงดำในที่ต่างๆแต่เมือ 30 ปีที่แล้วได้เลิกไป และเมื่อ15ปีที่ผ่านมาจึงได้มีการริเริ่มให้มีงานในลักษณะนี้ขึ้นมาใหม่แต่ประยุกต์ให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและยุดสมัยของปัจจุบันโดยจัดรวมงานของหมู่บ้านในวันเดียวกัน เจ้าภาพจะจัดเตรียมอาหาร วงดนตรี และจะทะยอยกลับกันในช่วงมืดแล้วแต่ตามระยะทางใกล้ไกล

http://www.stopdrink.com/index.php?modules=news&type=5&id=1538